ช่วยเหลือลูกค้า
คู่มือเจ้าของบ้านสำหรับสั่งงานตู้ควบคุม Matrix6 และ Matrix816
การเปิดใช้งานตู้ควบคุม
กดรหัสของท่าน ( รหัสที่มาจากโรงงานคือ 1 2 3 4 ) หรือรหัสที่ท่านได้เปลี่ยนใหม่แล้ว เครื่องจะทำการเปิดในโหมด A พร้อมกับเข้าสู่การหน่วงเวลาเพื่อออกจากบ้าน หากท่านต้องการเปลี่ยนไปเปิดในหมวด B ให้กดปุ่มรูปกุญแจล็อค แล้วกดปุ่ม B ( ในขณะที่อยู่ในช่วงหน่วงเวลา )
การเปิดใช้งานแบบรวดเร็ว (ท่านต้องบอกผู้ติดตั้งให้ทำได้ก่อน )
กดปุ่มเลข 1 ค้างไว้ 2 วินาที เป็นการเปิดแบบ A
กดปุ่มเลข 2 ค้างไว้ 2 วินาที เป็นการเปิดแบบ B
การปิดตู้ควบคุมในสภาวะปกติ
กดรหัสของท่าน ( รหัสที่มาจากโรงงานคือ 1 2 3 4 )
การปิดตู้ควบคุมในขณะที่เกิดการเตือนภัย
กดรหัสของท่าน ( รหัสที่มาจากโรงงานคือ 1 2 3 4 ) ไซเรนจะหยุดร้อง หมายเลขโซนที่ถูกบุกรุกจะแสดงให้เห็นบนจอคีย์แพด กดรหัสของท่านอีกครั้งเพื่อรีเซ็ตตู้ควบคุมให้เข้าสู่สภาพปกติ
การเปลี่ยนรหัส
กดปุ่มลูกศรคู่ 1ครั้งตามด้วยรหัสของท่าน ( ต้องเป็นรหัสเจ้าของบ้านเท่านั้น ) เพื่อเข้าสู่การโปรแกรม
กดปุ่มลูกศรคู่ 1ครั้งตามด้วย 25
กด 01…..หรือ เลขอื่นตั้งแต่ 02 ถึง 15 ซึ่งเป็นลำดับที่ของรหัส (ตู้ควบคุมมีรหัสให้ใช้ทั้งสิ้น 15 รหัส) จากนั้นใส่รหัสที่ท่านต้องการ ซึ่งสามารถใส่ได้ตั้งแต่ 4 หลัก, 5 หลัก, 6 หลัก (ถ้าท่านใส่รหัสเพียง 4 ถึง 5 หลักท่านต้อง กดปุ่มลูกศรคู่เพื่อแสดงว่าได้ใส่รหัสครบแล้ว)
ใส่รหัสที่ท่านต้องการอีกครั้งแล้วกดลูกศรคู่เพื่อยืนยันรหัส
ท่านจะพบว่ามีเลข 1 ปรากฎบนจอ ให้ท่านกดปุ่มลูกศรคู่ 1 ครั้ง
ท่านจะพบว่ามีเลข 1 ปรากฎบนจอ ให้ท่านกดปุ่มลูกศรคู่ 1 ครั้ง
ท่านจะพบว่ามีเลข 0 ปรากฎบนจอ ให้ท่านกดปุ่มลูกศรคู่ 1 ครั้ง
กดปุ่มลูกศรคู่และ 0 เพื่อออกจากการโปรแกรม
การยกเลิกรหัส
กดปุ่มลูกศรคู่ 1 ครั้งตามด้วยรหัสของท่าน (ต้องเป็นรหัสเจ้าของบ้านเท่านั้น) จึงจะสามารถเข้าไปลบรหัสได้
กดปุ่มลูกศรคู่ 1 ครั้งตามด้วย 25
ใส่ลำดับที่ของรหัสที่ท่านต้องการยกเลิก โดยเลือกกดหมายเลข 01…ถึง…15 กดปุ่มลูกศรหัวชี้ขึ้น ท่านจะได้ยินเสียงตอบรับเป็นการแจ้งว่ารหัสลำดับดังกล่าวถูกยกเลิกแล้ว
กดปุ่มลูกศรคู่และ 0 เพื่อออกจากการโปรแกรม
การเปิดใช้งานโดยยกเลิกโซนบางโซน Bypass Arming
กดปุ่มลูกศรคู่ 1ครั้งตามด้วยรหัสของท่าน ( ต้องเป็นรหัสเจ้าของบ้านเท่านั้น ) เพื่อเข้าสู่การโปรแกรม
กดปุ่มลูกศรคู่ 1ครั้งตามด้วย 12
กดหมายเลขโซนที่ท่านต้องการยกเลิกเช่น 01…ถึง…06 กดปุ่มลูกศรคู่เพื่อยืนยัน
หากมีโซนอื่นที่ต้องการยกเลิกอีกให้ทำซ้ำด้วยวิธีเดียวกันคือกดหมายเลขโซนแล้วกดปุ่มลูกศรคู่เพื่อยืนยัน จากนั้นเปิดใช้งานด้วยการกดปุ่มรูปกุญแจล็อกตามด้วยปุ่ม A ซึ่งหมายถึงการเปิดแบบ A หรือปุ่ม B ซึ่งหมายถึงการเปิดแบบ B หมายเหตุ เมื่อท่านกดรหัสเพื่อปิดการทำงาน การยกเลิกโซนที่ท่านทำไว้จะถูกยกเลิกทั้งหมด หากท่านต้องการเปิดใช้งานโดย ยกเลิกโซนอีกท่านต้องทำตามขั้นตอนข้างต้นใหม่ทุกครั้ง
ในการใช้งานปกติหน้าจอคีย์แพดจะแสดงสัญญลักษณ์ที่มีความหมายดังนี้
การดูเหตุการณ์ย้อนหลังเมื่อมีการเตือนภัยเกิดขึ้น
เมื่อมีการเตือนภัยเกิดขึ้นท่านสามารถเข้ามาดูเหตุการณ์ย้อนหลังได้จากคีย์แพด สาเหตุที่ควรทำเพราะท่านจะทราบว่าเกิดเหตุขึ้นที่โซนใดและหากเป็นการเตือนภัยผิดพลาดท่านจะได้แก้ไขได้ถูกจุด โดยทำดังนี้
1 กดปุ่ม « 1234 (รหัสเจ้าของบ้าน) หากสัญญลักษณ์รูปกุญแจปลดล็อคกะพริบแสดงว่าท่านได้เข้าสู่โหมดการโปรแกรมสำเร็จ
2 กดปุ่ม « 13 ท่านจะเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้และดูย้อนหลังกลับไปที่ละเหตุการณ์โดยการกดปุ่ม ↑ หรือ ↓
3 เมื่อดูจนจบแล้วให้ออกจากการโปรแกรมโดยกดปุ่ม « 0 สัญญลักษณ์รูปกุญแจปลดล็อคจะหยุดกะพริบ
การตรวจสอบและหาสาเหตุเมื่อระบบมีปัญหา
ท่านสามารถตรวจสอบสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นบนตู้ควบคุมได้โดยสังเกตุจากสัญญลักษณ์ที่ปรากฎบนจอคีย์แพดซึ่งมีดังนี้
สัญญาณเตือนสิ่งผิดปกติที่แสดงบนแป้นกดรหัส (แปลจากด้านบน)
System Fault 2 ฟิวส์ไฟสำรองขาด
System Fault 3 ไม่ได้ใส่แบตเตอรี่สำรองไฟ หรือแบตเตอรี่หายไปจากระบบ
System Fault 4 ชาร์จไฟไม่เข้าแบตเพราะแบตเตอรี่เสื่อมแล้ว
System Fault 5 ไฟหลักไม่จ่าย (หรือฟิวส์เมนขาด)
System Fault 6 ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ (หรือสายโทรศัพท์ขาด)
System Fault 8 ส่งข้อมูลไปศูนย์เฝ้าระวังไม่สำเร็จ
System Fault 9 แบตเตอรี่ถูกตัดเพราะไฟต่ำกว่า 10.5โวลท์ (มีเฉพาะในรุ่น Matrix 816 เท่านั้น)
สำหรับปัญหาที่เกิดจากสายขาดหรืออุปกรณ์ในระบบหายไปจะขึ้นต้นด้วยตัว T
การโปรแกรมตู้ Matrix 6, Matrix 816 อย่างย่อ / เฉพาะคำสั่งที่จำเป็นและใช้บ่อยๆ
1 เข้าคำสั่งวิศวกรโดยกด « « 9 9 9 9 (กดปุ่มรูปลูกศรคู่สองครั้งตามด้วยเลขเก้าสี่ครั้ง)
2 การเปลี่ยนจากระบบ EOL เป็นระบบ NC(ค่าโรงงานเป็น DEOL ให้อยู่แล้ว)ให้กด « 250 เลือก option ที่ 1 จากนั้นกดปุ่มกุญแจล็อคเพื่อให้สัญญลักษณ์รูประฆังติด จากนั้นกด « เพื่อ save
3 สั่งให้การกดปุ่มถูกทำร้ายร่างกายมีเสียงไซเรนร้อง (จากเดิมเป็นการเตือนภัยเงียบ) โดยการกด « 400 เลือก option ที่ 1 จากนั้นกดปุ่มกุญแจล็อคเพื่อให้สัญญลักษณ์รูประฆังดับ จากนั้นกด « เพื่อ save
4 อนุญาติให้เปิดแบบ quick arm ได้ โดยการกด A, B, C หรือ D ค้างไว้ 3 วินาทีโดยการกด « 400 เลือก option ที่ 2 จากนั้นกดปุ่มกุญแจล็อคเพื่อให้สัญญลักษณ์รูประฆังติด จากนั้นกด « เพื่อ save
5 การตั้งค่าโซน โดยการใส่รหัสที่ตรงกับความต้องการ
ความหมายของรหัส
0 0 หน่วงเวลาเข้าออก, 0 1ทางผ่าน, 0 2 ร้องทันที, 0 3ยกเว้น, 0 4ไฟไหม้, 0 5 ทำร้ายร่างกาย, 0 6 โซน24ชั่วโมง, 0 7 สายตรวจ, 0 8 shunt keypad, 0 9ตัดสาย,1 0 สวิตช์เปิด ปิดธรรมดา, 1 1 สวิตช์ปุ่มกด, 1 2ไม่ใช้งาน
คำสั่งการเปิดในโหมด A
« 251 คือโซนที่ 1 ค่าโรงงานคือ 0 0 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 252 คือโซนที่ 2 ค่าโรงงานคือ 0 1 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 253 คือโซนที่ 3 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 254 คือโซนที่ 4 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 255 คือโซนที่ 5 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 256 คือโซนที่ 6 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 257 คือโซนที่ 7 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 258 คือโซนที่ 8 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
คำสั่งการเปิดในโหมด B
« 261 คือโซนที่ 1 ค่าโรงงานคือ 0 0 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 262 คือโซนที่ 2 ค่าโรงงานคือ 0 1 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 263 คือโซนที่ 3 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 264 คือโซนที่ 4 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 265 คือโซนที่ 5 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 266 คือโซนที่ 6 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 267 คือโซนที่ 7 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 268 คือโซนที่ 8 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
คำสั่งการเปิดในโหมด C (มีเฉพาะในรุ่น 816)
« 351 คือโซนที่ 1 ค่าโรงงานคือ 0 0 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 352 คือโซนที่ 2 ค่าโรงงานคือ 0 1 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 353 คือโซนที่ 3 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 354 คือโซนที่ 4 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 355 คือโซนที่ 5 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 356 คือโซนที่ 6 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 357 คือโซนที่ 7 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 358 คือโซนที่ 8 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
คำสั่งการเปิดในโหมด D (มีเฉพาะในรุ่น 816)
« 361 คือโซนที่ 1 ค่าโรงงานคือ 0 0 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 362 คือโซนที่ 2 ค่าโรงงานคือ 0 1 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 363 คือโซนที่ 3 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 364 คือโซนที่ 4 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 365 คือโซนที่ 5 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 366 คือโซนที่ 6 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 367 คือโซนที่ 7 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
« 368 คือโซนที่ 8 ค่าโรงงานคือ 0 2 หากต้องการเปลี่ยนให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด «
6 การตั้งค่าสวิตช์เปิด ปิด (key switch) ให้เป็นโหมดต่างๆ (ค่าโรงงานเป็นโหมด B)
กด « 456 แล้วเปลี่ยน 0 2 ให้เป็นเลขอื่น โดย 0 1 คือเปิดแบบโหมด A, 0 2 คือเปิดโหมด B, 0 3 คือเปิดโหมด C, และ 0 4 คือเปิดแบบโหมด D เมื่อเสร็จแล้วกด « เพื่อบันทึกข้อมูล
7 การตั้งค่าเวลาในเรื่องต่างๆ
เวลาที่ไซเรนร้อง กด « 500 แล้วใส่เวลาที่ต้องการเป็นวนาที 00…99 นาที กด « save ข้อมูล
หน่วงเวลาเข้าบ้าน กด « 502 แล้วใส่เวลาที่ต้องการเป็นวินาที 00…99 วินาที กด « save ข่อมูล
หน่วงเวลาออกจากบ้าน กด « 503 แล้วใส่เวลาที่ต้องการเป็นวินาที 00…99 วินาที กด « save ข้อมูล
8 การตั้งค่า output
รหัสที่ใช้ในการตั้งเอ๊าพุทมีดังนี้ 0 0 ไม่ใช้งาน, 0 4จ่ายไฟลบเมื่อมีการเปิด/ปิดระบบ, 0 9 สั่งให้ไฟกะพริบ(จ่ายไฟลบ), 1 0จ่ายไฟลบเมื่อโซนไฟไหม้ทำงาน, 1 1จ่ายไฟลบเมื่อโซน PA ทำงาน,1 2 Confirmed alarm(เมื่อมี 2โซนทำงาน), 1 4สั่งให้ไซเรนร้อง (จ่ายไฟลบ)
คำสั่งในการกำหนดเอ๊าพุทมีดังนี้
« 551 คือ output ที่ 1 มีค่าโรงงานเป็น 14 หากแก้ไขให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด « เพื่อบันทึก
« 552 คือ output ที่ 1 มีค่าโรงงานเป็น 09 หากแก้ไขให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด « เพื่อบันทึก
« 553 คือ output ที่ 1 มีค่าโรงงานเป็น 04 หากแก้ไขให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด « เพื่อบันทึก
« 554 คือ output ที่ 1 มีค่าโรงงานเป็น 11 หากแก้ไขให้ใส่รหัสใหม่แล้วกด « เพื่อบันทึก
9 เดินทดสอบระบบ (Walk Test) กด « 753 จากนั้นเลือกกด A หรือ B หรือ C หรือ D เพื่อเลือกโหมดของการ armเดินทดสอบโซนต่างๆ เมื่อเสร็จสิ้นแล้วให้กด «
10 ทดสอบ PGM output กด « 752 จากนั้นเลือกหมายเลข output ที่ต้องการ เช่น 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4เมื่อเสร็จสิ้นแล้วให้กด «
11 ออกจากการโปรแกรม (Exit engineer mode) โดยกดปุ่ม « 0
การใส่วันที่ เดือน ปีให้กับตู้ควบคุม
เข้าคำสั่งโปรแกรมโดยรหัสเจ้าของบ้าน กด « 1 2 3 4(ค่าโรงงาน)
การตั้งเวลาที่ถูกต้องให้ตู้ควบคุม กด « 2 1จะสังเกตุเห็นขีดเส้นใต้ 2 ขีดให้ใส่เวลาในรูปแบบ 24 ชั่วโมง เช่น 6 โมงเย็นต้องใส่เลข 18 เป็นต้นจากนั้นให้ใส่เลขของนาที เสร็จแล้วกด « เพื่อบันทึกค่า
ตั้งวัน วันที่ เดือน ปี ที่ถูกต้องให้ตู้ควบคุม กด « 2 2 จะสังเกตุเห็นขีดเส้นใต้ 2 ขีด-ใส่วันที่ถูกต้อง ความหมายคืิอ1 = Monday, 2 = Tuesday, 3 = Wednesday, 4 = Thursday, 5 = Friday, 6 = Saturday, 7 = Sunday, เสร็จแล้วให้ใส่เลข 2 หลักสุดท้ายของปี เช่น 06 คือปี คศ.2006, ต่อมาใส่เลขเดือน ซึ่งต้องใส่ให้ครบ 2 หลัก เช่น 01 คือเดือนมกราคม, 12 คือเดือนธันวาคม ลำดับสุดท้ายให้ใส่เลขวันที่ ซึ่งต้องใส่ให้ครบ 2 หลัก เช่นวันที่ 1 ต้องใส่ 01 เป็นต้น เมื่อทำเส็จสิ้นทั้งหมดแล้วให้กด « เพื่อบันทึกค่า
ออกจากการโปรแกรม กด « 0
-
บทความยอดนิยม
ทำรั้วไฟฟ้าใช้เองราคาประหยัด 40,151 views
แหล่งความรู้สัญญาณกันขโมย 3,716 views
โมชั่นเซ็นเซอร์คืออะไร 3,282 views
เจาะลึกการใช้งานแม่เหล็กตรวจจับบนประตูหน้าต่าง 1,686 views
ราคาสัญญาณกันขโมย 1,388 views
ไพโรนิคส์ ระบบป้องกันขโมยจากอังกฤษ
สอบถามปัญหากันขโมย
ซื้อ 1 แถม 1
กำลังมองหาระบบไร้สาย?
CCTV
Pyronix News